“ก๋วยเตี๋ยว” เป็นเมนูอาหารยอดนิยมสำหรับคนไทย สำหรับคนรักเส้นที่มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเส้นเล็ก เส้นใหญ่ เส้นหมี่ บะหมี่ แต่เส้นก๋วยเตี๋ยวส่วนใหญ่เป็นเส้นสดที่ทิ้งค้างไว้หลายวันไม่ได้ ผู้ประกอบการจึงเติมสารกันบูดหรือสารกันเสีย เพื่อยืดอายุเส้นก๋วยเตี๋ยวไม่ให้เสียเร็วเกินไป โดยสารกันบูดที่นิยมใช้คือกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งหากร่างกายได้รับในปริมาณสูงเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง
จากการสำรวจเส้นก๋วยเตี๋ยว พบ “เส้นเล็ก” มีปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุด รองลงมาด้วย “เส้นหมี๋” เส้นก๋วยจั๊บ เส้นใหญ่ บางตัวอย่างพบปริมาณสารกันบูดที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารสากล (Codex) จึงกำหนดให้ใช้กรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเส้นก๋วยเตี๋ยวเหล่านี้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้าที่มีความชื้นสูง ทำให้ขึ้นราได้ง่าย จึงมีการใส่สารกันบูด ส่วนวุ้นเส้นกับบะหมี่เหลือง ผลิตจากแป้งสาลี จึงไม่มีปัญหา
การกินเพื่อสุขภาพที่ดี หลีกเลี่ยงการสะสมสารกันบูดในร่างกาย ควรสลับสับเปลี่ยนการกินเส้นอื่นบ้างๆ เส้นเล็กบ้าง บะหมี่บ้าง วุ้นเส้นบ้าง หรือบางมื้อจะเปลี่ยนเป็นเกาเหลาก็ดีเหมือนกัน
ที่มา// HEALTH & BEAUTY
Blogger Comment
Facebook Comment